top of page

พบ 322 รายการสำหรับ ""

  • ขึ้นต้นงานโครเชต์แบบไม่ง้อโซ่ฐาน

    การขึ้นต้นงานแบบไปกลับ โดยปกติเราจะเริ่มต้นด้วยโซ่ฐานก่อน แล้วจึงถักแถวต่อไป แต่สำหรับนักถักมือหนัก ๆ ถักโครเชต์แน่น ๆ อย่างบีเอง มักมีปัญหางานถักที่ได้รั้งโค้งจากความแน่นของฐาน ทำให้งานออกมาไม่ตรงสวย วิธีแก้ปัญหานี้มี 2 วิธี ได้แก่ 1. เริ่มต้นถักโซ่ฐานด้วยเข็มโครเชต์เบอร์ใหญ่กว่าที่ใช้ในแถวอื่น ๆ 2. ขึ้นต้นถักงานโครเชต์แบบถักโซ่ไปพร้อม ๆ กับการถักโซ่ฐาน (Chainless Foundation Crochet) ซึ่งเป็นการขึ้นต้นงานที่ใช้เวลาในการถักน้อยกว่าการเริ่มต้นงานแบบธรรมดา อีกทั้งฐานที่ได้จะหลวมกว่า จึงหมดปัญหางานถักรั้งโค้งงอ แรก ๆ ของการถัก Chainless Foundation Crochet อาจจดูยุ่งยาก และแปลกไปจากวิธีเดิม ๆ ที่ใช้เคยใช้มา แต่ลองใช้เวลาฝึกสักนิด แล้วผู้อ่านจะคุ้นชิ้นและสนุกการขึ้นต้นงานแบบ Chainless Foundation Crochet บีขอนำเสนอ "ขึ้นต้นงานโครเชต์แบบไม่ง้อโซ่ฐาน" ด้วยการถักลาย X, ลาย T และ ลาย F ค่ะ หวังว่ามิตรรักโครเชต์ทุกท่าน จะได้รับประโยชน์และสนุกกับเทคนิคโครเชต์ในวันนี้ พบกันใหม่ในบทความต่อไป โครเชต์... ใคร ๆ ก็ทำได้ Bemochi

  • วิธีต่อไหมและเปลี่ยนสีในงานนิตติ้งลูม

    ทั้งการเปลี่ยนสีไหมพรมและการต่อไหมพรมในเวลาที่ไหมหมด ต่างก็ใช้วิธีเดียวกัน บทความนี้ บีจะพูดถึงการเปลี่ยนสีไหมพรมที่จุดเริ่มต้นของแถว ซึ่งแบ่งเป็น 2 หัวข้อย่อย คือ กรณีไม่ใช้ไหมสีเดิมแล้ว กับ อีกกรณีที่มีการโยงไหม เนื่องจากยังใช้ไหมสีเดิมในอีกไม่กี่แถวถัดไป และ หัวข้อสุดท้ายการเปลี่ยนสีไหมพรมที่กลางแถว ซึ่งทั้งหมด เราจะเปลี่ยนสีหรือต่อไหมในขั้นตอนที่มีห่วงไหมพรม 1 ห่วงบนหมุดค่ะ 1. วิธีเปลี่ยนสีหรือต่อไหมพรมที่จุดเริ่มต้นแถว ในกรณีที่เราจะไม่ใช้สีเดิมแล้ว หรือ เราจะใช้ถักอีกทีในอีกหลายแถวต่อไป 1. ตัดไหมสีเดิม เหลือไว้ยาวประมาณ 6 นิ้ว 2. เอาไหมสีใหม่มามัดติดกับไหมสีเดิม ปลายไหมที่เหลืออาจตัดให้สั้น หรือ เก็บปลายไหมในชิ้นงาน 3. ถักต่อไปด้วยไหมสีใหม่ 2.วิธีเปลี่ยนสีที่จุดเริ่มต้นแถว กรณีจะใช้ไหมสีเดิมอีกในอีกไม่กี่แถวต่อไป ตามตัวอย่างในคลิป บีจะถักด้วยไหมสีชมพู และสีขาวสลับกันสีละ 2 แถว บีถักด้วยสีชมพูครบ 2 แถวแล้ว จะเปลี่ยนไปใช้ไหมสีขาว ก็ไม่ต้องตัดไหมสีชมพู เพราะจะใช้ถักต่อในอีก 2 แถวต่อไป ก็จะเอาไหมสีขาวมามัดติดกับไหมสีเดิม แล้วถักต่อไปด้วยไหมสีขาว ก่อนเริ่มถักแถวที่ 2 ของสีขาว เราจะเอาไหมสองสีพันกันก่อนค่ะ ด้วยการเอาไหมสีที่ใช้อยู่คือสีขาว อยู่ด้านหน้าไหมที่ไม่ใช้คือสีชมพู แล้วเอาไหมสีขาวอ้อมไปด้านหลังไหมชมพู และขึ้นมาด้านหน้า แล้วถักแถวต่อไปด้วยไหมสีขาว หลังจากถักสีขาวครบ 2 แถวแล้ว บีก็จะเปลี่ยนกลับไปใช้สีชมพู ก็จะไขว้ไหมก่อนค่ะ ด้วยการเอาไหมสีจะใช้ คือ สีชมพู อ้อมไปด้านหลังสีขาว แล้วขึ้นมาด้านหน้า แล้วจึงถักแถวต่อไปด้วยสีชมพู การพันไหมที่จุดเริ่มต้นแวแบบนี้ จะช่วยให้ด้านในของชิ้นงานไม่มีเส้นไหมโยงเป็นเส้นยาว บีแนะนำให้ใช้วิธีนี้กับการเปลี่ยนไปใช้ไหมพรมสีใหม่ 1-4 แถว แล้วกลับมาใช้สีเดิม แต่ถ้ามากกว่านี้แนะนำใช้วิธีแรก คือ ตัดไหมสีเดิมทิ้ง แล้วค่อยต่อไหมอีกทีดีกว่า จะได้งานที่ไม่มีตะเข็บจากการพันไหมด้วยค่ะ 3. วิธีเปลี่ยนสีไหมพรมกลางแถว ในกรณีใช้ไหมพรมมากกว่า 1 สีใน 1 แถว ตามตัวอย่างในคลิปนี้บีจะถักด้วยไหมสีขาว 4 หลัก แล้วเปลี่ยนไปใช้ไหมสีดำ 4 หลัก ถักสลับกันไปทั้งแถว บีจะถักด้วยสีขาวก่อน 4 หลัก เมื่อถักสีขาวครบ 4 หลักแล้ว จะต่อไหมสีดำเพื่อถักต่อ ก็ไม่ต้องตัดไหมสีขาว เนื่องจากบีจะโยงไหมสีขาวไปพร้อมกับการถักไหมสีดำ เพื่อที่จะใช้ถักอีกทีค่ะ มัดไหมสีดำติดกับไหมสีขาว จากนั้นใช้ไหมสีดำถักที่หมุดถัดไป แล้วเราจะโยงใหม่สีขาวไปพร้อมกับการถักด้วยไหมสีดำ ด้วยการวางไหมสีที่ขาวที่ไม่ใช้อยู่ด้านหน้าใหม่ดำสีที่ใช้อยู่ แล้วจับไหมสีดำมาถักหมุดถัดไป สองหลักถัดไปบีก็ยังใช้ไหมสีดำ ก็จะพันไหมวิธีเดิม คือ **เอาไหมที่เราไม่ใช้ไว้ด้านหน้า แล้วเอาไหมสีที่ใช้อยู่มาถักต่อ** ัถักต่อด้วยไหมสีดำอีก 2 หลัก จากนั้นบีจะเปลี่ยนกลับไปถักด้วยไหมสีเดิม คือสีขาวจำนวน 4 หลัก ก็จะพันไหมแบบเดิม คือ *วางไหมสีที่ไม่ใช้อยู่ด้านหน้าใหม่สีที่จะใช้ แล้วถักหมุดถัดไปด้วยไหมสีที่จะใช้* การโยงไหมวิธีนี้ จะทำให้ด้านในชิ้นงานไม่มีเส้นไหมยาวโยงเป็นเส้นยาว ด้านในของชิ้นงานจะดูเป็นระเบียบ บีจึงชอบใช้วิธีนี้ค่ะ ุ หวังว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้และสนุกกับการเปลี่ยนสีไหมพรมในงานถักนิตติ้งลูม นิตติ้งลูม.... ใคร ๆ ก็ทำได้ Bemochi

  • นิตติ้งลูมแบบประกอบได้

    วันนี้บีมีอุปกรณ์นิตติ้งลูมแบบประกอบได้มาแนะนำค่ะ ความพิเศษของอุปกรณ์ชุดนี้อยู่ที่ เราสามารถประกอบชิ้นส่วนเป็นนิตติ้งลูมได้หลายแบบ หลายขนาด ทั้งแบบวงกลม สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส อุปกรณ์ชุดนี้สามารถทำชิ้นงานได้หลากหลาย ทั้งหมวก ผ้าพันคอ ถุงมือ ถุงเท้า ผ้าคลุมไหล่ ผ้าห่ม และอื่น ๆ อีกมากมาย ในเซ็ทประกอบด้วย 1. ชิ้นส่วนตรง จำนวน 14 ชิ้น 2. ชิ้นส่วนรูปครึ่งวงกลม จำนวน 2 ชิ้น 3. ชิ้นส่วนรูป ¼ ของวงกลม จำนวน 4 ชิ้น 4. เข็มเกี่ยวด้ามจับซิลิโคน จำนวน 1 ชิ้น 5. เข็มเย็บไหมพรม จำนวน 1 ชิ้น เวลาต่อชิ้นส่วน แนะนำว่าไม่ต้องกดลงจนบริเวณรอยต่อเรียบเป็นเนื้อเดียวกันก็ได้ เพราะจะแน่นมาก เวลาที่เราถอดชิ้นส่วน ก็จะทำได้ยากค่ะ ข้อดีของอุปกรณ์ชุดนี้ อยู่ที่ ความสะดวกในการจัดเก็บชิ้นส่วน ใช้งานง่าย ประหยัด เนื่องจากไม่ต้องซื้อลูมหลายขนาด หลายแบบ ก็เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์งานฝีมือที่ควรมีไว้ติดบ้าน เหมาะสำหรับผู้ทีสนใจการถักนิตติ้งลูม แต่กังวลเรื่องอุปกรณ์ลูมที่มีอยู่หลายแบบหลายขนาด ไม่รู้ว่าควรซื้อชิ้นไหน แบบไหนบ้าง วันนี้บีก็ขอตัวไปก่อนนะคะ ไว้โอกาสหน้าบีจะนำอุปกรณ์งานฝีมืออื่น ๆ ที่น่าสนใจมาแนะนำอีก พบกันใหม่ในบทความต่อไป โครเชต์...ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • เทคนิคลดขนาดห่วงเริ่มต้นงานในนิตติ้งลูม

    วิธีขึ้นต้นงานถักนิตติ้งลูมมีอยู่หลายแบบด้วยกัน หนึ่งในวิธีที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วคือ การขึ้นต้นงานแบบพันไหมรูปตัว e แต่ในความง่ายก็มีข้อเสียอยู่ที่ ห่วงไหมพรมจากการเริ่มต้นงานจะหลวม ๆ เป็นห่วงใหญ่ แต่ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้บีมีเทคนิคดี ๆ ที่จะทำให้ห่วงเริ่มงานเล็กลง เพื่อเพิ่มความสวยของชิ้นงานมาฝากทุกคนค่ะ ในงานถักแบบพลิกไปกลับเราจะเริ่มดึงห่วงไหมพรมที่หลวมจากด้านที่อยู่ตรงข้ามกับปลายไหมเริ่มต้นงาน ส่วนงานถักแบบวงกลมเราจะดึงไหมในทิศที่เราถักนิตติ้งลูม โดยบีจะดึงไหมในทิศทวนเข็มนาฬิกา เนื่องจากบีมักถักชิ้นงานจากซ้ายไปขวาค่ะ แต่ถ้าใครถักในทิศตรงข้าม คือ ถักตามเข็มนาฬิกา ก็ดึงห่วงไหมจากขวาไปซ้ายค่ะ วิธีลดขนาดห่วงเริ่มต้นงานในนิตติ้งลูม เริ่มดึงห่วงด้านนอกที่อยู่ถัดจากปลายไหมเริ่มต้นงาน เพื่อเช็คว่าห่วงเส้นในห่วงไหนขยับ ดึงห่วงไหมเส้นในที่ขยับ เพื่อลดขนาดของห่วงนอก จากนั้นก็ดูว่าเส้นไหมห่วงในตามข้อ 2 เชื่อมกับห่วงไหมเส้นนอกเส้นไหน ถ้าไม่แน่ใจว่ามันเชื่อมกับเส้นไหม ก็ลองดึงไหมดู ดึงไหมเส้นนอกที่ขยับ เพื่อลดขนาดของห่วงใน ทำซ้ำให้ครบทุกห่วง เมื่อถึงปลายไหมเริ่มต้นงาน ก็ดึงปลายไหมเพื่อลดขนาดห่วงสุดท้าย หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้รับประโยชน์จากคลิปนี้นะคะ ขอให้ทุกคนสนุกกับการถักหมวกนิตติ้งลูม พบกันใหม่ในบทความต่อไป นิตติ้งลูม.... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • 5 วิธีจัดการปัญหางานถักอัฟกันม้วนงอ

    หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า “ทำไมชิ้นงานอัฟกันที่ถักถึงม้วนงอเหมือนหางม้าน้ำ?” แล้วก็เกิดคำถามต่อไปว่า “ฉันถักผิดตรงไหนหรือเปล่า?” ซึ่งความจริงแล้ว “เป็นเรื่องปกติที่ชิ้นงานถักอัฟกันจะม้วนงอ” ค่ะ ในขณะที่การถักโครเชต์เราจะแทงเข็มที่ด้านบนของแถวก่อนหน้า แต่ถักอัฟกันเราจะแทงเข็มที่ด้านหน้าของแถวก่อนหน้า นี่คือความต่างที่สำคัญที่ทำให้ชิ้นงานอัฟกันม้วนงอ แต่งานโครเชต์เรียบตรงค่ะ กับปัญหานี้ บีมีวิธีรับมือและแก้ไขถึง 5 วิธีมาฝากทุกคนค่ะ 1 .เลือกใช้เข็มที่ใหญ่ขึ้น สำหรับการถักโครเชต์ ถ้าเราเลือกใช้เข็มโครเชต์ขนาดที่ใหญ่กว่าที่เหมาะสำหรับไหมพรมมาก ๆ ลายถักที่ได้จะหลวมและมีช่องว่างระหว่างลายที่ใหญ่ แต่สำหรับการถักอัฟกันแล้ว ควรเลือกใช้เข็มอัฟกันที่ใหญ่กว่าการถักโครเชต์ 2 mm เช่น ปกติไหมพรม 4 ply ใช้เข็มโครเชต์ขนาด 2.5 mm เมื่อถักอัฟกันก็ควรเลือกใช้เข็มขนาด 4.5 mm เหตุผลที่เข็มไซส์ใหญ่ช่วยให้งานม้วนงอลดลง ก็เนื่องมาจากเข็มที่ใหญ่ช่วยลดความแน่นของลายในการถักอัฟกันนั่นเองค่ะ 2. เริ่มถักที่ด้านหลังของโซ่ฐาน หลาย ๆ คนอาจเริ่มเก็บห่วงบนโซ่ฐาน ด้วยการแทงเข็มที่กลางโซ่ทางด้านหน้า แต่เราสามารถเก็บห่วงที่เส้นไหมด้านหลังโซ่ได้เช่นกัน ซึ่งการเก็บห่วงที่ด้านหลังโซ่จะช่วยลดการม้วนงอของอัฟกันได้ดีกว่าการเก็บห่วงที่ด้านหน้าโซ่ 3. บล็อกชิ้นงาน หลังจากถักชิ้นงานเสร็จแล้ว ขึงชิ้นงานให้ตึงด้วยเข็มกลัด จากนั้นใช้ขวดสเปรย์ฉีดน้ำให้ชิ้นงานเปียกจนทั่ว เมื่อชิ้นงานแห้ง อาการม้วนงอของงานถักก็จะหายไปค่ะ 4. ติดพู่ไหมพรม หรือ ถักลายริมรอบชิ้นงาน ด้วยน้ำหนักของพู่ที่มัดติดกับชายของชิ้นงาน หรือลายริมที่ถักรอบชิ้นงาน จะช่วยทำให้ชิ้นงานตรงมากขึ้นค่ะ 5. เลือกใช้ลายถักที่ไม่ม้วนงอ ที่ตำแหน่งล่าง บนและด้านข้างของชิ้นงาน อาจเลือกถักลายเพิร์ล หรือ ลายอัฟกันนิตที่ด้านหลัง จำนวน 3 – 4 แถว ที่ตำแหน่งด้านล่าง ด้านบนชิ้นงาน และจำนวน 3- 4 หลักที่ด้านข้างของชิ้นงาน เนื่องจากลายถักเพิรล์และลายอัฟกันนิตที่ด้านหลังไม่ทำให้ชิ้นงานม้วนงอ การถักลายทั้งสองบริเวณล่าง บนและ ด้านข้างของชิ้นงาน จึงช่วยให้งานตรงมากขึ้นค่ะ​ หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้รับประโยชน์จากเทคนิคที่บีนำเสนอในวันนี้ ขอให้ทุกคนสนุกกับการถักอัฟกัน อัฟกันใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • วิธีจัดการกับปัญหาโซ่ฐาน ขาด ๆ เกิน ๆ

    ในเวลาที่เราถักชิ้นงานใหญ่ ๆ ที่ต้องเริ่มงานด้วยโซ่ฐานยาว ๆ อย่าง เสื้อ กระโปง ผ้าพันคอหรือเดรส ไม่ว่ามือใหม่หรือมือเก่า ถ้าสติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ก็คงจะมีขาดมีเกินกันบ้าง ปัญหานี้อาจแก้ได้ด้วยการใช้เครื่องนับแถว/หลัก แต่ถึงจะมีตัวช่วยแล้ว บางครั้งความผิดพลาดก็ยังเกิดขึ้นได้ พอถักไปเรื่อย ๆ จนใกล้จบแถวแรก ก็ต้องปวดหัวเมื่อพบว่าโซ่ฐานขาดหรือเกินจำนวนไปจากแพทเทิร์นกำหนด วิธีแก้ปัญหาแบบบ้าน ๆ ถ้าเป็นเคสโซ่เกิน ก็คงพยายามซ่อนโซ่ไว้ในชิ้นงาน แล้วเดินหน้าถักต่อไป แต่ยังงั้ยยังไงมันก็เป็นติ่งที่คอยรบกวนจิตใจ สำหรับคนที่ต้องการเพอร์เฟคของชิ้นงาน หรือถ้าเป็นเคสโซ่ขาด ก็คงรื้อชิ้นงานกันไป แล้วเริ่มต้นใหม่ แต่วิธีนี้ก็ทำเอาเหนื่อยใจเหมือนกัน ก็แหม....กว่าแถวแรกจะเสร็จได้ ถักไปแล้วเป็นร้อย ๆ หลักแล้วนี่นา (−_−)!! วันนี้บีมีเทคนิคดี ๆ ที่ช่วยรับมือกับปัญหาโลกแตกนี้ มาฝากทุกคนค่ะ เทคนิครับมือกับโซ่ฐานที่เกิน ตามรูปมีโซ่ที่เกินอยู่ 2 โซ่ และปมไหม มาดูวิธีจัดการกันค่ะ เทคนิคเพิ่มโซ่ฐานในกรณีถักโซ่ไม่ครบจำนวน ตามรูปขาดไป 1 โซ่ แต่ Bemochi ขี้เกียจไม่อยากรื้องานแล้วเริ่มใหม่ จึงมักใช้เทคนิคนี้ประจำค่ะ เพียงเท่านี้ก็มีโซ่ฐานเพิ่มให้ถักแถวแรกต่อแล้วค่ะ แต่เทคนิคนี้ใช้ได้ในกรณีที่มีปลายไหมเริ่มต้นงานยาวพอให้ถักโซ่เพิ่มค่ะ เพราะฉะนั้นตอนเริ่มต้นงานถักที่ต้องการโซ่ฐานยาว ๆ ถ้าไม่แน่ใจในการนับโซ่ของตัวเอง ก็เหลือปลายไหมไว้ยาว ๆ เผื่อไว้ก่อนดีกว่าค่ะ พบกันใหม่ในบทความต่อไป โครเชต์... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • ถักถุงมือเด็กแรกเกิด ด้วยนิตติ้งลูม

    สำหรับใครที่กำลังมองหาของขวัญสำหรับเด็กทารก วันนี้บีมีวิธีถักถุงมือไซส์เล็ก ๆ ถักง่าย เสร็จเร็วมาฝาก โดยเราจะใช้บล็อกวงกลม 12 หมุด หรือ Flower Loom ค่ะ​ วัสดุอุปกรณ์ ไหมพรมเบบี้คอตตอน ยี่ห้ออีเกรท จำนวน 1 ม้วน บล็อกวงกลม 12 หลัก เข็มถักบล็อกไม้ กรรไกร เข็มเย็บไหมพรม ริบบิ้น ลายถักที่ใช้ ลายนิต ลายเพิร์ล ลายการ์เตอร์ หรือ ลายมาม่า WATCH NOW: วิธีถักถุงมือเด็กทารก ด้วยบล็อกวงกลม วิธีถัก ขึ้นต้นงานให้ครบทุกทั้ง 12 หมุด ถักขอบถุงมือ ด้วยลายการ์เตอร์ (ถักนิต 1 แถว สลับกับ ลายเพิร์ล 1 แถว) จำนวน 8 แถว ถักตัวถุงมือ ด้วยลายนิตจำนวน 10 แถว หรือ จนได้ความยาวตามต้องการ ปลดห่วงออกจากหมุด รูดไหมปิดช่อง และเก็บปลายไหมไว้ด้านในชิ้นงาน ตกแต่งด้วยริบบิ้นผูกเป็นโบว์ ขอให้ทุกคนสนุกกับการถักหมวกนิตติ้งลูม พบกันใหม่ในบทความต่อไป นิตติ้งลูม.... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • ลายถักหัวใจดวงเล็ก นิตติ้งลูม

    สวัสดีเพื่อน ๆ Lollipop Crochet ทุกคนค่ะ ลายถักที่บีเอาฝากทุกคนในวันนี้ เป็นลายถักน่ารัก ๆ ที่ชื่อว่า Tiny Heart Stitch หรือลายถักหัวใจดวงเล็ก ลายถักนี้ มีแพทเทิร์นแค่ 2 แถว แถวหนึ่งถักด้วยลายนิตแบบพันไหมรูปตัว e ก็จะได้ส่วมแหลมด้านล่างของหัวใจ และอีกแถวถักด้วยลายเพิร์ลโอเวอร์ ก็จะได้รอยหยักของหัวใจค่ะ แถวที่ 1 1. พันไหมรูปตัว e รอบทุกหมุด จำนวน 2 รอบ 2. เกี่ยวห่วงเส้นล่างออกจากทุกหมุด แถวที่ 2 1. เอาเส้นไหมไว้ด้านบนห่วงบนหมุด 2. สอดเข็มเกี่ยวจากล่าง เกี่ยวไหมพรมลงให้เกิดห่วง 3. เอาห่วงที่ได้ตามข้อ 2 พับขึ้นแล้วใส่ลงในหมุด 4. ดึงไหมเพื่อลดขนาดของห่วง 5. ทำซ้ำข้อ 1 - 4 จนเหลือหมุดสุดท้าย 6. ถักนิตที่หลักสุดท้าย ทำซ้ำแถวที่ 1 – 2 จนได้จำนวนแถวตามต้องการ ลายถักนี้อาจทำเป็นหมวก ผ้าพันคอ หรือผ้าห่มก็ได้ค่ะ WATCH NOW: วิธีถักหัวใจดวงเล็ก นิตติ้งลูม ลายถักนี้ เป็นลายถักที่ออกแบบโดยคุณ Theresa Higby ใครที่สนใจลายถักนิตติ้งลูมสวย ๆ ก็เข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ช่องของคุณ Theresa Higby ค่ะ ขอให้ทุกคนสนุกกับการถักนิตติ้งลูม พบกันใหม่ในบทความต่อไป นิตติ้งลูม.... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • ถักอัฟกันลายเมช

    ลายถักอัฟกันที่บีจะแนะนำในวันนี้ มีชื่อว่าลายเมช (Tunisian Crochet Mesh Stitch) หรือ ลายนิตแบบพันหัวเข็ม 1 ครั้ง ข้าม 1 หลัก เป็นหนึ่งในลายถักที่สวยงามและถักง่ายมากค่ะ ลายถักที่ใช้ 1. โซ่ 2. อัฟกันนิต วิธีถัก 1. ถักโซ่จำนวนรวมเป็นเลขคู่ 2.เก็บห่วงในโซ่ที่ 2 และ และโซ่ 3. ถักกลับด้วยการเกี่ยวไหมผ่าน 1 ห่วง และที่เหลือเกี่ยวไหมผ่านทีละ 2 ห่วง 4. พันหัวเข็ม 1 ครั้ง, ข้ามเส้นแนวตั้ง 2 เส้นแรก, แทงเข็มในหลักถัดไป, เกี่ยวไหมผ่านหลักนั้น 5. พันหัวเข็ม 1 ครั้ง, ข้าม 1 หลัก, แทงเข็มในหลักถัดไป, เกี่ยวไหมผ่านหลักนั้น ุ6. ทำซ้ำข้อ 5 จนครบทุกหลัก ึ7. ทำซ้ำข้อ 4 - 5 จนได้จำนวนแถวตามต้องการ ขอให้ทุกคนสนุกกับการถักอัฟกัน อัฟกันใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • ลายถักลายเลื่อนห่วง

    ลายเลื่อนห่วง หรือ ลห หรือ ลาย C (Slip Stitch/ sc) เป็นลายถักที่ไม่มีความสูง ลายถักที่ได้จะอยู่ด้านหน้าของแถวก่อนหน้า ซึ่งต่างจากลายถักกอื่น ๆ ที่ตัวของลายจะอยู่ด้านบนของแถวก่อนหน้า ลายเลื่อนห่วง มักใช้ถักเชื่อมกับหลักแรกให้เป็นวงกลมในงานถักวงกลม เช่น ตุ๊กตาโครเชต์ ใช้ถักเชื่อมกับโซ่แรกเป็นวงกลม และใช้ถักเป็นลวดลายลูกโซ่บนชิ้นงาน หรือ ใช้ข้ามหลักเพื่อถักในตำแหน่งอื่น เช่น ต้องการข้าม 4 หลัก แล้วจึงถักลายต่อไป ก็สามารถทำได้ด้วยการถักเลื่อนห่วงเป็นจำนวน 4 หลัก แล้วจึงถักลายที่ต้องการในหลักที่ 5 และหลักต่อ ๆ ไป วิธีถักลายเลื่อนห่วงในงานพลิกกลับ 1. เมื่อถักชิ้นงานจนจบแถวแล้ว ให้พลิกงาน 2. แทงเข็มลงบนหลักแรก 3. เกี่ยวไหมผ่านหลักและผ่านห่วงบนเข็ม 4. ได้เลื่อนห่วง 1 หลัก 5. ถักเลื่อนห่วงในหลักต่อ ๆ ไป ตามต้องการ วิธีถักเลื่อนห่วงเพื่อปิดแถวในงานถักวงกลม 1. เมื่อถักชิ้นงานครบแถวแล้ว แทงเข็มลงบนหลักแรก 2. เกี่ยวไหมผ่านหลักและผ่านห่วงบนเข็ม 3. เสร็จการถักเลื่อนห่วงเพื่อปิดแถว วิธีถักเลื่อนห่วงบนชิ้นงาน เพื่อตกแต่งให้เป็นลวดลาย 1. วางปมไหมไว้หลังชิ้นงาน 2. แทงเข็มจากด้านหน้าไปด้านหลังชิ้นงาน ดึงไหมให้ห่วงเล็กลง แต่ไม่ต้องแน่นเข็ม 3. เกี่ยวไหมขึ้นมา 4. แทงเข็มตรงหลักถัดไปจากด้านหนัาไปด้านหลังชิ้นงาน 5. เกี่ยวไหมพรมทางด้านหลังของชิ้นงาน 6. ดึงไหมมาด้านหน้า จะได้ 2 ห่วง 7. ดึงห่วงที่ได้จาก 6 ผ่านห่วงแรกจะได้เลื่อนห่วง 1 หลัก 8. ถักต่อไปเรื่อย ๆ ตามต้องการ Special Tips: จบการถักเลื่อนห่วงด้วยการตัดไหมให้ยาวพอสำหรับการเก็บปลายไหม แล้วดึงไหมผ่านห่วงสุดท้ายมาทางด้านหน้า อย่าลืมเก็บปลายไหมไว้หลังชิ้นงานให้เรียบร้อยด้วยนะคะ การถักลูกโซ่เป็นรูปต่าง ๆ ทำได้ง่าย ๆ แค่ตัดกระดาษเป็นรูปที่เราต้องการ แล้ววางบนด้านหน้างานโครเชต์ จากนั้นลงมือถักลูกโซ่รอบกระดาษนั้นได้เลยค่ะ​ WATCH NOW: วิธีถักลาย C บนชิ้นงาน สำหรับผู้ถนัดมือขวา WATCH NOW: วิธีถักลาย F สำหรับผู้ถนัดมือซ้าย ขอให้ทุกคนสนุกกับการถักโครเชต์ โครเชต์.....ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • ถักผ้าห่มอัฟกันไซส์เด็กเล็ก ปรับขนาดได้ไม่ยาก!!!

    ผ้าห่มไหมพรม ที่บีจะสาธิตวิธีทำในวันนี้ ถักด้วยไหมเบบี้ซิลค์สีหวาน ๆ เราจะถักเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แล้วถักต่อเรื่อย ๆ กันเป็นผืนใหญ่ โดยสามารถปรับขนาดของผ้าห่มได้ง่าย ๆ ตามต้องการค่ะ ชิ้นงานนี้อาจใช้ไม้อัฟกัน หรือ เข็มโครเชต์ขนาด 7.00 mm ก็ได้ เนื่องจากเราขึ้นงานแค่ 7 ห่วงค่ะ ขนาดสำเร็จ สำหรับหมอนขนาด 30 x 35 นิ้ว วัสดุอุปกรณ์ 1. ไหมพรมเบบี้ซิลค์ สีครีม จำนวน 4 กลุ่ม, สีเหลือง สีม่วง และสีเขียวพาสเทล สีละ 2 กลุ่ม 2. เข็มโครเชต์ขนาด 7.0 และ 5.5 mm 3. เข็มเย็บไหมพรม 4. กรรไกร 6. สายวัด ลายถักที่ใช้ 1. โซ่ (Chain) 2. คธ หรือ ควักธรรมดา หรือ X (Single Crochet) 3. เลื่อนห่วง หรือ ลห หรือ C (Slip Stitch) 4. อัฟกันนิต (Simple Tunisian Crochet ) WATCH NOW: วิธีถักผ้าห่มอัฟกันไซส์เด็กเล็ก พร้อมวิธีปรับขนาด WATCH NOW: วิธีถักผ้าห่มอัฟกันไซส์เด็กเล็ก สำหรับผู้ถนัดมือซ้าย ลายถักนี้นอกจากจะทำเป็นผ้าห่มได้แล้ว ยังสามารถทำเป็นผ้าคลุมเตียง ปลอกหมอน ผ้าม่าน หรือ ผ้าพันคอก็ได้ค่ะ ขอให้ทุกคนสนุกกับการถักอัฟกัน อัฟกันใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • ถักลายเพิร์ลในงานนิตติ้งลูม

    ลายถักเพิร์ล (p) เป็นลายถักตรงกันข้ามกับลายนิต (k) เวลาที่ถักเพิร์ล ด้ายถูกของชิ้นงานจะเป็นลายเพิร์ล ส่วนด้านผิดจะเป็นลายนิต และเวลาที่เราถักนิต ด้านถูกก็จะเป็นลายนิต ด้านถูกเป็นลายเพิร์ล วันนี้เรามาดูวิธีถักลายเพิร์ลกันค่ะ​ วิธีขึ้นต้นงาน ทำห่วงไหมพรม เอาห่วงที่ได้ใส่ในหมุดแรก โยงไหมไปด้านหลังหมุดถัดไป แล้วพันไหมรอบหมุดนั้น (พันไหมรูปตัว e) ทำซ้ำข้อ 3 จนได้จำนวนตามต้องการ โยงไหมให้เส้นไหมพรมอยู่ด้านล่างของห่วงบนหมุด สอดเข็มลงล่าง แล้วเกี่ยวเส้นไหมพรมขึ้น ดึงห่วงให้ยาว เอาห่วงเดิมออกและเอาห่วงใหม่ใส่ลงในหมุดแทน ดึงไหมลดขนาดของห่วง ​ทำซ้ำข้อ 5 - 8 จนครบทุกหมุด วิธีถักเพิร์ลในแถวแรกและแถวต่อ ๆ ไป โยงไหมไปด้านหน้าหมุดเพื่อถักกลับ ให้เส้นไหมพรมอยู่ด้านล่างของห่วงบนหมุด สอดเข็มลงล่าง แล้วเกี่ยวเส้นไหมพรมขึ้น ดึงห่วงให้ยาว เอาห่วงเดิมออกและเอาห่วงใหม่ใส่ลงในหมุดแทน ดึงไหมลดขนาดของห่วง ทำซ้ำข้อ 2 - 5 ให้ครบทุกหมุด ตัวย่อของลายเพิร์ลที่ใช้ในแพทเทิร์นคือ ตัว p และลายนิตใช้ตัว k ด้านถูกของงานจะอยู่ในฝั่งที่หันเข้าหาเรา ส่วนด้านผิดจะอยู่ด้านในบล็อกค่ะ​ WATCH NOW: วิธีถักลายเพริล์ในงานนิตติ้งลูม ขอให้ทุกคนสนุกกับการถักนิตติ้งลูม พบกันใหม่ในบทความต่อไป นิตติ้งลูม.... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

bottom of page