top of page

พบ 322 รายการสำหรับ ""

  • วิธีถักลาย X หรือ คธ

    ลาย X หรือ ควักธรรมดา (คธ.) เป็นลายโครเชต์พื้นฐานที่นักถักโครเชต์ทุกคนต้องรู้จัก ทุกลายถักโครเชต์ต่างมีพื้นฐานมาจากการถักลายนี้ทั้งนั้น วันนี้เรามาหัดถักลายนี้กันค่ะ วิธีถักลายควักธรรมดา 1. ถักโซ่ ฐาน (Foundation Chain) ตามจำนวนที่ต้องการ 2. ข้าม 1 โซ่แรก (โซ่ 1 ที่ข้าม ไม่นับเป็นหลักแรกของแถว) จากเข็มโครเชต์ แทงเข็มลงในโซ่ที่ 2 จากเข็ม โดยอาจแทงลงใต้ปุ่มหลังของโซ่ หรือ แทงลงตรงใต้ห่วงหลังของโซ่ หรือแทงลงใต้ห่วงหลังและปุ่มหลังของโซ่ 3. พันเข็มรอบไหม 1 ครั้ง (Yarn over/yo) โดยการวางเข็มด้านล่างไหม แล้วเกี่ยวไหม 4. ดึงไหมผ่านห่วง จะได้ 2 ห่วงบนเข็ม 5. พันไหม 1 ครั้งรอบเข็ม (Yarn over/yo) แล้วดึงไหมผ่านห่วงทั้งสอง วิธีนับจำนวน X ที่ถักใหนับเส้นไหมที่เป็นรูปตัว V บนงานถัก จากรูปมี X จำนวน 6 หลัก การเริ่มถักแถวต่อไป (ในงานถักพลิกกลับทุกแถว) ให้เริ่มด้วยถัก 1 โซ่ (ไม่นับเป็นหลักแรกของแถว) พลิกงาน แล้วถัก X แรกบน X สุดท้ายของแถวก่อนหน้า (แทงเข็มลงใต้โซ่รูป V สุดท้ายของแถวที่แล้ว) การถัก X ในหลักสุดท้ายของแถว ให้ถักลงใต้โซ่รูป V สุดท้ายของแถวที่แล้ว วิธีจบงาน ให้ถัก 1 โซ่ ตัดไหม แล้วดึงไหมออกจากโซ่ ภาพเปรียบเทียบการถักลายควักธรรมดาในการถักพลิกกลับทุกแถว และ การถักแบบวงกลม WATCH NOW: วิธีถักลายควักธรรมดา สำหรับผู้ถนัดมือขวา WATCH NOW: วิธีถักลายควักธรรม สำหรับผู้ถนัดมือซ้าย แค่ถักโซ่กับลาย X เป็น ก็สร้างงานโครเชต์ง่าย ๆ อย่างแผ่นรองแก้ว แผ่นรองจาน ได้แล้วล่ะคะ ​ พบกันใหม่ ในบทความต่อไป โครเชต์.....ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • ทำปอมปอมสวย ด้วยอุปกรณ์ทำปอมปอม

    ปอมปอมไหมพรม หรือ ลูกฟู นอกจากจะใช้ตกแต่งเพิ่มความน่ารักของชิ้นงานแล้ว ยังทำเป็นของใช้ ของตกแต่งได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น พวงกุญแจ มู่ลี่ เครื่องประดับ หรือ พรมเช็ดเท้า วันนี้บีขอชวนเพื่อน ๆ มาทำปอมปอม ด้วยอุปกรณ์ทำปอมปอมค่ะ​ ใน 1 ชุด ประกอบด้วยอุปกรณ์ทำปอมปอมทั้งหมด 4 ขนาด สำหรับทำปอมปอมขนาดต่างกัน แต่ละขนาดจะมี 2 ชิ้น ชิ้นเล็กสุด เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 cm, รองลงมา 5.5 cm, 7 และ 9 cm ค่ะ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ อุปกรณ์ทำปอมปอม ไหมพรมตามชอบ กรรไกร วิธีทำปอมปอม ด้วยอุปกรณ์ทำปอมปอม พันไหมรอบอุปกรณ์ซีกแรก เมื่อพันครบรอบแล้ว ก็พันกลับในทิศตรงข้าม พันต่อไปเรื่อย ๆ จนได้ความหนาตามต้องการ เมื่อพันไหมได้ตามต้องการ ก็ตัดไหมพรม พันไหมอีกซีกหนึ่งของอุปกรณ์ที่เหลือ เมื่อพันไหมได้ขนาดใกล้เคียงกับซึกแรก ก็ตัดไหม พับอุปกรณ์ทั้งสองซึกติดกันและปิดตัวล็อค สอดปลายกรรไกรระหว่างช่องว่างของทั้งสองชิ้น แล้วตัดไหมทั้งหมด ตัดไหมพรมสีเดียวกันจำนวน 1 เส้น แล้วมัดตรงกลางระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นจนแน่น เอาอุปกรณ์ทำปอมปอมออก แล้วตัดแต่งให้กลมสวย WATCH NOW:คลิปวีดีโอแนะนำวิธีทำปอมปอม ด้วยอุปกรณ์ทำปอมปอม ขนาดของปอมปอมที่ได้จะใกล้เคียงกับขนาดของอุปกรณ์ที่เราเลือกใช้ ขอให้ทุกคนสนุกกับการทำปอมปอม พบกันใหม่ในบทความต่อไป สวัสดีค่ะ

  • วิธีปลดห่วงจากนิตติ้งลูม

    คราวที่แล้วเราได้เรียนรูัวิธีถักลายนิตกันไปแล้ว วันนี้เรามาดูวิธีปลดห่วงแบบพื้นฐาน เพื่อเอางานถักออกจากบล็อกนิตติ้งลูม โดยทั้งการถักแบบไปกลับและการถักแบบวนใช้วิธีปลดห่วงแบบเดียวกันค่ะ ขั้นตอนการปลดห่วง ถักนิตที่หมุดที่ 1 และ 2 ย้ายห่วงของหมุดที่ 2 มาที่หมุดที่ 1 ดึงไหมลดขนาดของห่วงบนหมุด แล้วเกี่ยวห่วงล่างออกจากออกจากหมุด ย้ายห่วงจากหมุดแรก ไปที่หมุดที่ 2 ดึงไหมลดขนาดของห่วงบนหมุด (ให้หมุดที่ 2 เป็นหมุดแรกอันใหม่) ทำซ้ำข้อ 1 - 4 จนเหลือ 1 หมุด เอาห่วงสุดท้ายออกจากหมุด ตัดไหม เอาปลายไหมใส่ในห่วง แล้วดึงไหมให้เกิดปมไหม WATCH NOW: วิธีปลดห่วงจากนิตติ้งลูม ขอให้ทุกคนสนุกกับการถักนิตติ้งลูม พบกันใหม่ในบทความต่อไป นิตติ้งลูม.... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • ถักลายนิต 4 แบบ บนนิตติ้งลูม

    หลังจากที่เราขึ้นต้นงานบนนิตติ้งลูมเป็นกันแล้ว วันนี้เรามาหัดถักลายแรก คือ ลายนิตกันค่ะ ซึ่งมีวิธีถักลายนิตถึง 4 แบบ โดยบีเรียงลำดับจากวิธีที่ได้ลายถักที่หลวมมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดค่ะ 1. วิธีถักลายนิตด้วยการพันไหมรูปตัว e (E - Wrap Stitch) การถักลายนิตวิธีนี้ใช้วิธีเดียวกับการขึ้นต้นงานด้วยการพันไหมรูปตัว e ซึ่งจะได้ลายถักที่หลวมมากที่สุด อาจเรียกลายถักนี้ว่า ลายนิตแบบบิด (Twisted Knit Sitch) ลายถักที่ได้เป็นรูปตัว y ซึ่งต่างจากการถักลายนิตอีก 3 วิธี ที่ได้ลายถักเป็นรูปตัว v ค่ะ วิธีถักการถักแบบวน พันไหม 1 ครั้ง รอบทุกหมุด (แต่ละหมุดมีไหมพรม 2 เส้น) หลังจากพันไหมครบทุกหมุดแล้ว ทำห่วงไหมพรม แล้วเอาใส่ในหมุดด้านข้าง เกี่ยวไหมเส้นล่างออกจากหมุด ทำซ้ำข้อ 3 ให้ครบทุกหมุด กดเส้นไหมลงด้านล่างหมุด เพื่อเตรียมสำหรับพันไหมรอบถัดไป วิธีถักการถักแบบวน โยงไหมมาด้านหน้าหมุดแรก โยงไหมไปด้านหลังหมุดถัดไป แล้วพันไหมรอบหมุดนั้น ทำซ้ำข้อ 2 จนครบทุกหมุด เกี่ยวไหมห่วงล่างออกจากหมุด ทำซ้ำข้อ 4 ให้ครบทุกหมุด กดห่วงไหมพรมลงด้านล่างของหมุด เพื่อเตรียมสำหรับพันไหมรอบถัดไป 2. วิธีถักลายนิต True Knit (Classic Knit stitch) การถักนิตด้วยวิธีนี้ จะได้ลายถักที่หลวมเป็นอันดับสอง ลายถักที่ได้เป็นรูปตัว V พันไหมรอบหมุดแรก สอดเข็มใต้ห่วงล่าง แล้วเกี่ยวไหมเส้นบน ดึงไหมให้เกิดห่วง เอาห่วงเดิมออกจากหมุดและเอาห่วงใหม่ที่ได้ใส่ลงไปแทน ดึงไหมเพื่อลดขนาดของห่วงบนหมุด พันไหมผ่านด้านหน้าของหมุดถัดไป สอดเข็มใต้ห่วงล่าง เกี่ยวไหมเส้นบน ดึงไหมให้เกิดห่วง เอาห่วงเดิมออกจากหมุดและเอาห่วงใหม่ที่ได้ใส่ลงไปแทน ดึงไหมเพื่อลดขนาดของห่วงบนหมุด ทำซ้ำข้อ 5 - 8 ให้ครบทุกหมุด 3. วิธีถักลายนิตด้วยการพันไหมรูปตัว U (U Wrap stitch) การถักนิตด้วยวิธีนี้ ได้ลายถักที่มีความแน่นเป็นอันดับสองรองจากการถักนิตวิธีสดท้ายค่ะ พันไหมรอบหมุดแรก ได้เส้นไหมคล้ายตัว U เกี่ยวไหมเส้นล่างออกจากหมุด พันไหมรอบหมุดถัดไปเป็นรูปตัว U แล้วเกี่ยวไหมเส้นล่างออกจากหมุด ทำซ้าข้อ 3 ให้ครบทุกหมุด 4. วิธีถักลายนิตด้วยการพาดไหมหน้าหมุด (Flat stitch) ลายนิตแบบสุดท้าย ลายถักที่ได้มีความแน่นมากที่สุด เนื่องจากไม่มีการพันไหมรอบหมุดเลย เพียงแค่พาดไหมด้านหน้าหมุดเท่านั้นค่ะ จับไหมไว้ให้ไหมด้านหน้าหมุดแบบหลวม ๆ เกี่ยวห่วงล่างออกจากทุกหมุด WATCH NOW: วิธีถักลายนิต 4 แบบ บนนิตติ้งลูม เราจะเลือกใช้วิธีถักนิตแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับแพทเทิร์นกำหนด หรือตามความต้องการของเราว่าต้องการได้ลายถักที่หลวมมากหรือหลวมน้อย เช่นต้องการลายนิตที่แน่น ๆ ก็เลือกถักนิตด้วยการพาดไหมหน้าหมุดค่ะ พบกันใหม่ในบทความต่อไป นิตติ้งลูม.... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • 2 วิธีขึ้นต้นงานบนนิตติ้งลูม

    การขึ้นต้นงานบนบล็อกวงกลมมีอยู่หลายแบบด้วยกัน บางแบบจะทำให้ได้ฐานแบบแน่น บางแบบทำให้ได้ฐานแบบหลวม และบางแบบเป็นการตกแต่งทำให้ได้ฐานที่สวยงาม วันนี้เรามาดู 2 วิธีในการขึ้นต้นงานกันค่ะ วิธีขึ้นต้นด้วยการพันไหมวนหลัก หรือการพันไหมรูปตัว e (E - Wrap Cast On) การขึ้นต้นงานด้วยการพันไหมรูปตัว e เป็นวิธีขึ้นต้นที่ง่ายที่สุด แต่ฐานของงานถักที่ได้จะเป็นห่วงหลวม ๆ มาดูวิธีทำกันค่ะ เริ่มด้วยการทำห่วงไหมพรม ด้วยการพันไหมรอบนิ้วชี้ 1 รอบ เอาห่วงที่ได้ใส่ในหมุดด้านข้างบล็อก เอาไหมเข้าไปกลางบล็อก แล้วพันไหมรอบหมุดแรก โยงไหมไปด้านหลังหมุดถัดไป แล้วพันไหมรอบหมุดนั้น ทำซ้ำข้อ 4. จนครบทุกหมุด เมื่อพันครบทุกหมุด ก็กดให้ห่วงไหมพรมลงด้านล่างของหมุด เพื่อเตรียมพันไหมรอบถัดไป โยงไหมมาด้านหลังหมุดแรก แล้วพันไหมรอบหมุดแรก ทำซ้ำข้อ 4. จนทุกหลักมีไหมพรมทั้งหมด 2 เส้น เมื่อถักครบแล้ว ก็เอาไหมพรมที่หมุดด้านข้างออก และเอาปลายไหมเข้าไปในบล็อก เอาไหมพรมจากม้วนไหมพรม มาพันรอบหมุดด้านข้างแทน เกี่ยวไหมห่วงล่างออกจากหมุดแรก พร้อมกับจับปลายไหมไว้ด้วย เกี่ยวไหมห่วงล่างออกจากหมุดค่ะ ที่หมุดถัดไป เกี่ยวไหมห่วงล่างออกจากหมุด ทำซ้ำข้อ 13. จนครบทุกหมุดค่ะ ถ้าเราต้องถักชิ้นงานแบบถักไปกลับ เช่น ทำผ้าพันคอ เราก็ขึ้นต้นงานเท่ากับที่แพทเทิร์นกำหนด เช่น แพทเทิร์นกำหนดให้ขึ้นงาน 8 หลัก พันไหมรูปตัว e บน 8 หมุด โยงไหมมาด้านหน้าหมุดแรำ แล้วไปด้านหลังหมุดถัดไป และพันไหมรอบหมุดนั้น พันไหมรูปตัว e ให้ครบทุกหมุดค่ะ เมื่อพันครบทุกหมุดก็เกี่ยวไหมห่วงล่างออกจากหมุด ซึ่งวิธีนี้ขอบด้านข้างของชิ้นงานจะไม่ค่อยเรียบ เหมาะกับชิ้นงานที่ไม่โชว์ขอบด้านข้าง แต่เราต้องการขอบของงานที่ออกมาเรียบขึ้น เป็นรูปโซ่ หรือ ตัว V ก็ไม่ต้องพันไหมรอบหมุดแรก แต่จะโยงไหมไปพันรอบหมุดถัดไปค่ะ วิธีขึ้นต้นด้วยโซ่ (Chain Cast On) วิธีขึ้นด้วยโซ่มีขั้นตอนการทำที่ยากกว่าแบบแรก แต่จะได้ฐานเป็นลูกโซ่ที่เป็นระเบียบกว่า สามารถทำได้ทั้งแบบใช้เข็มโครเชต์และไม่ใช้เข็มโครเชต์ ในวันนี้บีจะสาธิตการขึ้นต้นด้วยโซ่โดยไม่ใช้เข็มโครเชต์ค่ะ เริ่มต้นด้วยการทำปมไหมด้วยการพันไหมรอบนิ้วชี้ 2 รอบ เอาไหมเส้นในมาด้านนอก และเอาไหมเส้นในออกจากนิ้ว ดึงไหมให้เกิดปมไหม เอาห่วงออกจากนิ้ว และขยับไหมให้ห่วงใหญ่ขึ้นค่ะ เอาห่วงที่ได้ใส่ลงระหว่างหมุด แล้วเอาไหมพรมผ่านหน้าของหมุดทางซ้าย เข้าไปด้านในของบล็อก จับไหมพรมผ่านห่วง และดึงไหมพร้อมกับจับปลายไหมไว้ด้วย เอาไหมพรมผ่านหน้าของหมุดถัดไป เข้าไปด้านในของบล็อก จับไหมพรมผ่านห่วง และดึงไหม ทำซ้ำข้อ 6 และ 7 จนเหลือ 1 หมุด เอาห่วงใส่ลงในหมุดสุดท้าย แล้วดึงไหมลดขนาดของห่วง ก็จะได้การขึ้นต้นงานแบบโซ่แล้วค่ะที่หมุดสุดท้าย สำหรับการถักแบบไปกลับ ก็เริ่มต้นงานเท่าจำนวนหลักที่แพทเทิร์นกำหนด เช่น แพทเทิร์นกำหนดว่า ขึ้นต้น 8 หลัก เราก็ขึ้นต้นงานก่อน 7 หมุด แล้วเอาห่วงใส่ลงในหมุดที่ 8 ค่ะ WATCH NOW: วิธีขึ้นต้นงานบล็อกวงกลม ทั้งการขึ้นต้นงานแบบพันไหมรูปตัว e และแบบโซ่ นอกจากจะใช้กับทั้งบล็อกวงกลมแล้ว ยังสามารถใช้กับบล็อกพลาสติกรูปสี่เหลี่ยมด้วยค่ะ พบกันใหม่ในบทความต่อไป นิตติ้งลูม.... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • บทที่ 1 เตรียมอุปกรณ์สำหรับเริ่มต้นถักนิตติ้งลูม

    นอกจากโครเชต์ และนิตติ้งแล้ว นิตติ้งลูมก็เป็นอีกหนึ่งงานฝีมือที่ได้รับความสนใจอย่างมากในบ้านเรา เนื่องจากสามารถทำชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย ทั้ง ตุ๊กตา หมวก ผ้าพันคอ ถุงเท้า ผ้าคลุมไหล่ เสื้อผ้า หมอน ผ้าห่ม และกระเป๋า โดยงานถักที่ได้จากการถักลูม จะมีลักษณะเหมือนกับการถักนิตติ้งไม้คู่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการถักนิตติ้งลูมกันค่ะ 1. อุปกรณ์ลูม อุปกรณ์ตัวแรกที่ขาดไม่ได้เลยคือ อุปกรณ์ลูม ซึ่งหลัก ๆ มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ แบบแรกเป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า บล็อคไม้ หรือ บล็อคตะปู และ แบบที่สอง เป็นรูปวงกลมที่เรียกว่า บล็อควงกลม บล็อคไม้สามารถใช้ทำชิ้นงานได้หลากหลายเช่นเดียวกับการถักนิตติ้งไม้คู่ ส่วนบล็อควงกลม นอกจากจะใช้ทำหมวกได้แล้ว ยังสามารถใช้ทำชิ้นงานได้หลายหลายได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ผ้าพันคอ กระเป๋า ตุ๊กตา ถุงเท้า ถุงมือ ดอกไม้ หรือผ้าห่ม อุปกรณ์ลูมทั้งสองแบบ ต่างมีฐานและจำนวนหมุดที่ต่างกันออกไป หลักการเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นงานที่เราต้องการค่ะ เช่น บล็อควงกลม 24 หลัก เหมาะสำหรับทำหมวกเด็กทารก บล็อควงกลม 31 หลัก เหมาะสำหรับทำหมวกเด็กเล็ก บล็อควงกลม 36 หลัก เหมาะสำหรับทำหมวกเด็กและผู้ใหญ่ บล็อควงกลม41 หลัก เหมาะสำหรับทำหมวกไซส์ใหญ่เป็นพิเศษ สำหรับการหัดถัก อาจเริ่มต้นด้วยบล็อกไม้ หรือ บล็อควงกลมขนาดเล็กก็ได้ค่ะ​ 2. เข็มถักบล็อคไม้ ​ใช้สำหรับเกี่ยวห่วงออกจากหลักตะปูหรือหมุด 3.เข็มโครเชต์ ใช้สำหรับถักลายริมตกแต่งชิ้นงาน 4.กรรไกร ใช้สำหรับตัดไหมพรมที่ไม่ต้องการใช้ 5.อุปกรณ์นับแถว สำหรับช่วยนับแถวระหว่างการถัก ถ้าไม่มีก็สามารถจดจำนวนแถวลงในสมุดหรือเศษกระดาษก็ได้ค่ะ 6. เข็มเย็บไหมพรม ใช้สำหรับเย็บประกอบชิ้นงาน ุ 7. สายวัด ใช้สำหรับวัดชิ้นงานให้ได้ขนาดตามต้องการ 8. ไหมพรม ไหมพรมสำหรับการถักนิตติ้งลูม ใช้ได้ทั้งไหมพรมจากใยสังเคราะห์ และจากเส้นใยธรรมชาติ โดยสำหรับผู้หัดถัก แนะนำให้เลือกใช้ไหมพรมเส้นใหญ่ เช่น ไหมพรมเส้นใหญ่ของอีเกรท ไหมพรมเบบี้คอตตอน เพราะจะทำให้ถักเสร็จเร็วค่ะ แต่สำหรับผู้ที่เริ่มคุ้นเคยกับการถักนิตติ้งลูมบ้างแล้ว ก็อาจเลือกใช้ไหมเส้นเล็กลง โดยอาจใช้ไหมพรมมากกว่า 1 เส้นในการถัก เช่นใช้ไหม 2 เส้นควบ จะสังเกตเห็นว่าระยะห่างระหว่างหมุดบนอุปกรณ์ลูมมีขนาดที่เท่ากัน ซึ่งถ้าหมุดห่างกันมาก ก็จะเหมาะกับไหมพรมเส้นใหญ่ขึ้นค่ะ นอกจากบล็อกไม้ และบล็อควงกลมแล้ว ก็ยังมีอุปกรณ์นิตติ้งลูม แบบอื่น ที่น่าสนใจ เช่น Long Loom มีลักษณะคล้ายกับบล็อกไม้ แต่มีหมุดเพียง 1 แถว เหมาะสำหรับทำชิ้นงานแบน เช่นผ้าห่ม ผ้าพันคอ เนื้อผ้าที่ได้จะบางกว่าการถักด้วยบล็อกไม้ เนืองจากเป็นการถักเนื้อผ้าชั้นเดียว แต่งานจากบล็อกไม้เราจะได้เนื้อผ้า 2 ชั้นค่ะ S Loom เป็นอุปกรณ์ลูมที่มีลักษณะคล้ายตัว S หรือ เลข 8 มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ เหมาะสำหรับทำชิ้นงานใหญ่ ๆ เช่นผ้าห่ม Sock Loom หรือลูมสำหรับถักถุงเท้า มีทั้งแบบที่เป็นวงรี และแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สามารถปรับขนาดสำหรับถักถุงเท้าไซส์ต่าง ๆ ได้ค่ะ พบกันใหม่ในบทต่อไปของห้องเรียนนิตติ้งลูม นิตติ้งลูม.... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • ทำดอกไม้ง่าย ๆ จาก Flower Loom พร้อมวิธีทำเกสรสวย ๆ 6 แบบ

    Flower Loom หรือ Bloom Loom เป็นอีกหนึ่งในอุปกรณ์งานฝีมือที่ควรมีไว้ติดบ้าน วิธีใช้งานง่าย เพียงพันไหมรอบหมุดบนอุปกรณ์ แล้วปักเกสรตรงกลาง ก็จะได้ดอกไม้สวย ๆ มาใช้แล้วค่ะ วัสดุอุปกรณ์ อุปกรณ์ Flower Loom ไหมพรม เข็มเย็บไหมพรม กรรไกร เทปกาว วิธีทำดอกไม้ ติดปลายไหมที่ด้านข้างระหว่างหมุดใดก็ได้ เทปกาว โดยเหลือปลายไหมไว้ยาวประมาณ 5 นิ้ว โยงไหมขึ้นไปยังช่องตรงกันข้าม พันไหมรอบหมุดทางซ้าย โยงไหมลงมายังช่องด้านล่างที่ตรงกัน พันไหมรอบหมุดด้านล่างที่อยู่ทางซ้าย โยงไหมไปพันรอบหมุดบนทางขวาของหมุดแรก โยงไหมลงมาที่หมุดล่างที่ตรงกัน พันไหมรอบหมุดให้ครบทุกหมุด เมื่อพันไหมครบทุกหมุดแล้ว อาจพันไหมเพิ่มให้ได้จำนวนชั้นของกลีบดอกตามต้องการ ถ้าเราต้องการทำเกสรด้วยไหมสีเดียวกัน ก็เหลือปลายไหมไว้ยาวประมาณ 36 นิ้วขึ้นไป แล้วเอาปลายไหมสอดลงระหว่างหมุด เพื่อให้ปลายไหมอยู่ด้านล่างสำหรับใช้ทำเกสรต่อไป แต่ถ้าต้องการใช้ไหมพรมคนละสีในการทำเกสร ก็ตัดไหม เหลือไหมไว้ยาวประมาณ 5 นิ้ว จากนั้นเอาปลายไหมพรมทั้งสองเส้นสอดลงระหว่างหมุด แล้วมัดปลายไหมทั้งสองติดกันให้แน่น อาจเหลือปลายไหมทั้งสองสำหรับมัดติดกับชิ้นงานอื่น หรือ จะตัดให้สั้นก็ได้ค่ะ WATCH NOW:คลิปวีดีโอแนะนำวิธีใช้ Flower Loom พร้อมวิธีทำเกสร 6 แบบ เกสรแบบที 1: ลายถอยหลัง (Back Stitch Centre) ใช้ไหมพรมยาวประมาณ 40 นิ้ว แทงเข็มจากล่างขึ้นบนระหว่างกลีบดอกหรือระหว่างหมุดใดก็ได้ เหลือปลายไหมไว้ด้านหลังยาวประมาณ 5 นิ้ว แทงเข็มลงระหว่างกลีบดอกทางด้านขวา โดยจับปลายไหมด้านหลังไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ไหมหลุด ข้าม 1 ช่อง แทงเข็มขึ้นมาระหว่างกลีบดอก แล้วแทงเข็มลงในช่องที่เราข้ามไป โดยสอดเข็มใต้เส้นไหมด้านหลังเข้าไปด้านในด้วย แทงเข็มลงระหว่างกลีบดอกทางซ้ายที่ยังไม่ได้ปัก ย้อนกลับแทงเข็มลงในช่องที่ข้ามไป โดยสอดเข็มใต้เส้นไหมด้านหลังด้วย ทำซ้ำให้ครบทุกช่อง เมื่อปักครบรอบแล้ว อาจปักเพิ่มอีก 1 - 2 รอบเพื่อให้เส้นที่ปักดูชัดขึ้น โดยจะแทงระหว่างกลีบดอกหรือแทงเข็มที่กลางกลีบดอกก็ได้ ตามชอบ เมื่อปักจนได้จำนวนรอบตามต้องการ ตัดไหมเหลือปลายไว้ยาวประมาณ 5 นิ้ว มัดปลายไหมด้านหลังติดกัน เกสรแบบที่ 2: ลายเส้น (Stem Stitch Centre) ใช้ไหมพรมยาวประมาณ 40 นิ้ว แทงเข็มขึ้นมาระหว่างกลีบดอกใดก็ได้ เหลือปลายไหมไว้ด้านหลังยาวประมาณ 5 นิ้ว ข้าม 1 ช่อง แทงเข็มลงระหว่างกลีบดอกทางด้านซ้าย จับปลายไหมด้านหลังไว้ แทงเข็มขึ้นมาในช่องที่เราข้ามไป โดยสอดเข็มใต้เส้นไหมด้านบนด้วย ข้ามช่องที่เราเย็บไว้แล้ว แทงเข็มลง แทงเข็มขึ้นมา ในช่องเดิมที่เราข้ามไป สอดเข็มใต้เส้นไหมด้านบน เมื่อเย็บครบแล้ว ข้าม 1 ช่อง แทงเข็มลงที่ช่องถัดไป แล้วมัดปลายไหมด้านหลังติดกัน เกสรแบบที่ 3: Open Centre ใช้ไหมพรมยาวประมาณ 50 นิ้ว แทงเข็มขึ้นมาที่ช่องตรงกลาง เหลือปลายไหมไว้ยาวประมาณ 5 นิ้ว แทงเข็มลงระหว่างหมุดใดก็ได้ แทงเข็มขึ้นมาที่ช่องตรงกลาง แทงเข็มลงระหว่างหมุดถัดไป ปักให้ครบทุกช่อง อาจปักเพิ่มอีก 1 รอบ โดยปักที่กลางกลีบดอก ผูกปมไหมไว้ด้านหลังชิ้นงานให้แน่น เกสรแบบที่ 4: Oversewn Centre ใช้ไหมพรมยาวประมาณ 50 นิ้ว แทงเข็มขึ้นมาระหว่างกลีบดอกใดก็ได้ เหลือปลายไหมไว้ด้านหลังประมาณ 5 นิ้ว แทงเข็มลงระหว่างกลีบดอกตรงกันข้าม แทงเข็มขึ้นมาในช่องระหว่างกลีบดอกที่ติดกับช่องแรกที่ปัก แทงเข็มลงในช่องตรงข้าม แทงเข็มขึ้นมาระหว่างกลีบดอกช่องถัดไป แล้วแทงเข็มลงในช่องตรงข้าม ปักให้ครบทุกช่อง อาจปักเพิ่มอีก 1 รอบ โดยแทงเข็มที่กลางแต่ละกลีบดอก เกสรแบบที่ 5: ปักทึบ (Satin stitch Centre) ปักถอยหลังเพื่อตีกรอบเป็นรูปวงกลมกลางดอกไม้ ใช้เข็มเย็บไหมพรมแบบปลายแหลม แทงเข็มขึ้นมาที่กลางของเส้นไหมที่ปักไว้ตามข้อ 1. แทงเข็มลงกลางเส้นไหมที่ปักไว้ เส้นล่างที่ตรงข้ามกัน แทงเข็มขึ้นมาที่เส้นไหมด้านบนให้ติดกับเส้นไหมที่เราปักไว้ แทงเข็มลงกลางเส้นไหมที่ปักไว้ เส้นล่างที่ตรงข้ามกัน ปักครึ่งวงกลมแรกให้เต็ม ปักอีกครึ่งวงกลมให้เต็ม อาจปักเดินเส้นรอบวงกลมด้วยการปักลาย stem stitch เกสรแบบที่ 6: Rosebud Centre พันไหมพรมสีที่จะใช้ทำเกสร รอบหมุดในจำนวน 2 รอบ ปักลายถอยหลังตีกรอบเป็นวงกลมด้วยไหมพรมสีเดียวกัน เอาดอกไม้ออกจากอุปกรณ์ Flower Loom ใช้ไหมสีเดียวกัน สอดเข็มผ่านกลีบดอกที่ได้ตามข้อ 1. จากในไปนอก เหลือปลายไหมไว้ประมาณ 5 นิ้ว แทงเข็มผ่านกลีบดอกถัดไป จากในไปนอก ทำให้ครบทุกกลีบดอก ดึงเพื่อปิดห่วง แล้วมัดไหมติดกับปลายไหมตอนเริ่ม เก็บปลายไหมด้านหลังดอกไม้ ดอกไม้ที่ได้อาจใช้สำหรับตกแต่งชิ้นงานอื่น ๆ หรือจะถักโครเชต์รอบดอกไม้ แล้วต่อกันเป็นผืนใหญ่ทำเป็นผ้าพันคอ คลุมไหล่ หรือกระเป๋าสไตล์หวาน ๆ ก็ได้ค่ะ พบกันใหม่ในบทความต่อไป โครเชต์...ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • พวงกุญแจปลาวาฬจากผ้าสักหลาด

    ปลาวาฬตัวจ้อยจากผ้าสักหลาดหลากสี ติดโบว์จิ๋วน่ารัก ทำเป็นพวงกุญแจ ที่ใครพบเห็นต่างก็ตกหลุมรัก วัสดุอุปกรณ์ 1. ผ้าสักหลาด 2. กรรไกรปลายงอน 3. เข็มและด้าย 4. ริบบิ้นผ้าฝ้ายลายกางปลา 5. โบว์ริบบิ้น 6. ห่วงพวงกุญแจ 7. ใยโพลีเอสเตอร์ 8. ปากกาเขียนผ้าแบบลบได้ 9. กระดุมสีดำ 10. กาวอเนกประสงค์ วิธีทำ 1. ลอกลายรูปปลาวาฬลงบนผ้าสักหลาดด้วยปากกาเขียนผ้าแบบลบได้ 2. พับครึ่งผ้าสักหลาด แล้วตัดผ้าตามรูปที่ลอกลายไว้ด้วยกรรไกรปลายงอน จะได้ผ้ารูปปลาวาฬจำนวน 2 ชิ้น 3. ตัดผ้าสักหลาดสีชมพูอ่อน เป็นรูปวงรีเล็ก ๆ สำหรับเป็นแก้มของปลาวาฬ 4. เย็บกระดุมสีดำและติดผ้าสักหลาดวงรีตามข้อ 3. ด้วยกาวอเนกประสงค์ บนหน้าของปลาวาฬทั้งสองด้าน 5. ตัดริบบิ้นลายก้างปลายาวประมาณ 4 นิ้ว เอาริบบิ้นใส่เข้าไปในห่วงพวงกุญแจ 6. เอาริบบิ้นตามข้อ 5. ใส่ในห่วงพวงกุญแจ แล้วเย็บปลายริบบิ้นติดกัน 7. เย็บริบบิ้นที่เย็บปลายตามข้อ 6. ติดกับด้านหลังของปลาวาฬชิ้นหนึ่ง 8. ประกบผ้าสักหลาดรูปปลาอีกชิ้น แล้วเย็บติดกัน และยัดใยโพลีเอสเตอร์ 9. ติดโบว์จิ๋วที่บนหัวปลาสักหลาด WATCH NOW: คลิปวีดีโอสาธิตวิธีทำพวงกุญแจปลาวาฬผ้าสักหลาด ได้มาแล้วค่ะ กับพวงกุญแจผ้าสักหลาดรูปปลาวาฬ พบกันใหม่ในบทความต่อไป DIY ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • บทที่ 4 ซองใส่ทิชชู่อัฟกันกับการเปลี่ยนสีไหมพรมริมด้านซ้าย

    เนื่องด้วยการถักอัฟกัน 1 แถว ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ถักไปซึ่งเป็นขั้นตอนเกี่ยวห่วงใส่เข็ม และขั้นตอนถักกลับเพื่อปลดห่วง จึงทำให้การเปลี่ยนสีไหมพรมที่ริมด้านซ้ายและริมด้านขวา ได้ผลที่ต่างกัน วันนี้เรามาลองถักอัฟกันลายนิตแบบเปลี่ยน 2 สีที่ริมด้านซ้าย โดยทำเป็นกระเป๋าใส่ทิชชูกันค่ะ วัสดุอุปกรณ์ ไหมพรมเบบี้ซิลค์ สีเขียวพาสเทล เขียวใบไม้ และสีเขียวอมฟ้า ไม้อัฟกัน ขนาด 4, 4.5 mm เข็มโครเชต์ ขนาด 3.0 mm หรือ เบอร์ 5/0 เข็มเย็บไหมพรม กรรไกร เข็มกลัดห่วงไหมพรม ขนาดสำเร็จ 12 x 7 cm ลายถักที่ใช้ 1. โซ่ (Chain) 2. คธ หรือ ควักธรรมดา หรือ X (Single Crochet) 3. เลื่อนห่วง หรือ ลห หรือ C (Slip Stitch) 4. อัฟกันนิต (Simple Tunisian Crochet ) เริ่มต้นงาน เริ่มด้วยใช้ไหมพรมสีเขียว กับ ไม้เข็มอัฟกัน ขนาด 4.0 mm ถักโซ่ฐาน จำนวน 22 โซ่ แล้วเปลี่ยนไปใช้ไม้อัฟกัน ขนาด 4.5 mm แถวที่ 1 (ถักไป)แทงเข็มที่โซ่ที่ 2 นับจากเข็ม เกี่ยวไหมผ่านโซ่ขึ้นมา แทงเข็มที่โซ่ถัดไป เกี่ยวไหมผ่านโซ่ขึ้นมา ทำต่อไปเรื่อย ๆ จนจบแถว โดยจำนวนห่วงบนเข็มของทุก ๆ แถว จะเท่ากับจำนวนโซ่เริ่มต้นแถวที่เราถักไว้ ซึ่งเราถักโซ่ไว้ 22 โซ่ จำนวนห่วงทั้งหมดบนเข็มในทุกแถวก็จะเท่ากับ 22 ห่วง ที่โซ่สุดท้าย แทงเข็มลงที่โซ่ จับปลายไหมสีใหม่ (สีเขียวใบไม้) ไว้ด้านหลังชิ้นงาน แล้วเกี่ยวไหมสีใหม่ผ่านโซ่ขึ้นมา (ถักกลับ)เกี่ยวไหม ผ่าน 1 ห่วงแรก ได้โซ่ 1 ที่เหลือเกี่ยวไหมพรมสีใบไม้ผ่านทีละ 2 ห่วง จนจบแถวค่ะ แถวที่ 2 (ถักไป) ใช้ไหมพรมสีใบไม้ แทงเข็มใต้เส้นไหมแนวตั้งเส้นที่สอง จากนั้นเกี่ยวไหมผ่านขึ้นมา จะได้ 2 ห่วงบนเข็ม แทงเข็มใต้เส้นไหมแนวตั้งเส้นถัดไป เกี่ยวไหมผ่านขึ้นมา ทำซ้ำแบบนี้ทั้งแถว ที่หลักสุดท้าย แทงเข็มลงที่โซ่ 1 ของแถวที่แล้ว ปล่อยไหมพรมสีเขียวใบไม้ลง แล้วจับไหมสีเขียวพาสเทลขึ้นมา เกี่ยวไหมสีเขียวพาสเทลผ่านหลักสุดท้ายขึ้นมา (ถักกลับ) เกี่ยวไหมพรมสีเขียวพาสเทลผ่าน 1 ห่วง ได้โซ่ 1 ที่เหลือเกี่ยวไหมผ่านทีละ 2 ห่วง แถวที่ 3 (ถักไป) ใช้ไหมสีเขียวพาสเทล แทงเข็มใต้เส้นไหมแนวตั้งเส้นที่สอง แทงเข็มใต้เส้นไหมแนวตั้งเส้นต่อไป เกี่ยวไหมผ่านขึ้นมา ทำซ้ำทั้งแถว ที่หลักสุดท้าย แทงเข็มที่โซ่สีเขียวพาสเทลที่ถักไว้ จากนั้นปล่อยไหมสีเขียวพาสเทล แล้วจับไหมใบไม้ขึ้นมา เพื่อเกี่ยวผ่านหลักขึ้นมา (ถักกลับ) เกี่ยวไหมสีเขียวใบไม้ผ่าน 1 ห่วง ได้โซ่ 1 ที่เหลือเกี่ยวไหมผ่านทีละ 2 ห่วง ถักสลับระหว่างสีเขียวพาสเทลและเขียวใบไม้ จนถึงแถวที่ 22 วิธีปลดห่วงเมื่องานเสร็จ หรือการถักเลื่อนห่วง (Slip Stitch Bind Off) : เปลี่ยนไปใช้ไม้อัฟกันขนาด 4.5 นิ้ว เพือให้ลูกโซ่จากลายถักที่ได้มีขนาดใกล้เคียงกับโซ่ตอนเริ่มงาน แทงเข็มใต้เส้นไหมแนวตั้งเส้นที่สอง เกี่ยวไหมผ่านหลักขึ้นมา และผ่านห่วงบนเข็ม แทงเข็มใต้เส้นไหมแนวตั้งเส้นเส้นถัดไป เกี่ยวไหมหลักขึ้นมา และผ่านห่วงบนเข็ม ทำซ้ำข้อ 3. ทั้งแถว ที่หลักสุดท้าย แทงไหมใต้ไหม 2 เส้น จากนั้นเกี่ยวไหมผ่านขึ้นมาและผ่านห่วงบนเข็ม เกี่ยวไหมผ่านห่วงและตัดไหม ดึงไหมออก WATCH NOW: ถักไหมพรมกระเป๋าใส่ทิชชู ถักลายริม .ใช้ไหมสีเขียวอมฟ้า โดยใช้เข็มโครเชต์เบอร์ 5/0 หรือ 3.00 mm จับไหมไว้ด้านหลังชิ้นงาน แล้วแทงเข็มใต้หลักแรก เกี่ยวไหมผ่านขึ้นมา ถักโซ่ 1 ถัก X ลงในหลักเดิม จากนั้นถักโซ่ 3 แล้วถักเลื่อนห่วงลงที่ตัว X ที่เพิ่งถักไป **ถัก 1X ลงใน 2 หลักถัดไป, ถัก โซ่ 3 , เลื่อนห่วงที่ตัว X ที่เพิ่งถักไป** ทำซ้ำ ** ตลอดทั้งแถว อีกฝั่งหนึ่งก็ต่อไหมแล้วถักด้วยวิธีเดียวกันนี้ ถักด้านข้างกระเป๋าติดกัน พับชิ้นงานเข้าหากัน ให้ซ้อนทับกันด้านละ 2 แถว โดยแถวหนึ่งเป็นโครเชต์ลายริมสีฟ้าอมเขียว กับอีกแถวเป็นแถวสุดท้ายของอัฟกัน ก็คือ ให้แถวสุดท้ายของอัฟกันทั้งสองฝั่งตรงกัน นับไปอีก 10 แถว แล้วกลัดเข็มกลัดห่วงไหมพรมในแถวที่ 11 อีกด้านก็ทำเหมือนกัน ต่อไหมในแถวที่ 5 นับจากเข็มกลัด ด้วยการแทงเข็มใต้ไหม 2 เส้นของด้านหน้า และใต้ไหมสองเส้นของด้านหลัง เกี่ยวไหมผ่านขึ้นมา และถักโซ่ 1 ถัก X ในช่องเดียวกัน ด้วยการแทงเข็มใต้ไหมของทั้งด้านหน้าและด้านหลังค่ะ หลักต่อไปก็ถัก X ด้วยการแทงเข็มไปที่ด้านหลังในหลักที่ตรงกัน ถัก X ในหลักถัดไป หลักต่อไป ก่อนที่จะถึงเข็มกลัด ถัก X โดยถัก 3 ชั้นติดกัน คือ ด้านหน้า ตรงกลาง และด้านหลัง หลักต่อไปก็ยังถัก 3 ชั้นติดกัน ด้วยการแทงเข็มที่ข้างของลายริม ไปที่ชั้นกลาง และชั้นหลังสุด ที่เหลือจะถักแค่ 2 ชั้นติดกัน ถักอีกฝั่งหนึ่งด้วยวิธีการเดียวกัน บทเรียนต่อไปของอัฟกันก็ยังคงอยู่กับหัวข้อการเปลี่ยนสีไหมพรม แต่จะเป็นการเปลี่ยนสีไหมพรมกลางชิ้นงานให้เป็นรูปภาพ ขอให้ทุกคนสนุกกับการถักอัฟกัน อัฟกันใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • โครเชต์ดอกไม้ถักอารมณ์ดี

    ดอกไม้ถักสีสันสดใส ตกแต่งหน้าตาให้น่ารัก มาพร้อมกระถางใบเล็ก เหมาะสำหรับตกแต่งบ้านหรือจะมอบเป็นของขวัญแทนใจให้คนพิเศษก็เข้าที วัสดุอุปกรณ์ ไหมพรมวีนัส Soffur, สำหรับถักดอกไม้ และ ไหมพรมดาหลา สำหรับถักกระถางดอกไม้ เข็มโครเชต์เบอร์ 5/0 หรือ ขนาด 3.00 mm, และเข็มโครเชต์เบอร์ 6/0 หรือ ขนาด 3.50 เข็มเย็บไหมพรม ใยโพลีเอสเตอร์ ก้านลูกโป่ง กรวดปลา ลายถักโครเชต์ที่ใช้ Magic Circle ลายถักโซ่ (Chain) ลายถัก X หรือ คธ (Single Crochet) ลายถัก V (Single Crochet Increase) ลายถัก A (Single Crochet 2 together) ลายถัก C (Slip Stitch) ลายถัก F หรือ พ1ค (Double crochet) วิธีถักดอกไม้ ใช้ไหมพรมวีนัส Soffur กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 5/0 วิธีถักกระถางดอกไม้ ใช้ไหมพรมดาหลา กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 6/0 วิธีถักดิน ใช้ไหมพรมดาหลา กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 6/0 เริ่มด้วยโซ่ 8 แล้วเลื่อนห่วงให้เป็นวงกลม แถวที่ 1: 15 X ลงในวงกลม แถวที่ 2: (4X, V)*3 = 18 แถวที่ 3: (2X, V)*6 = 24 แถวที่ 4: (3X, V)*6 = 30 แถวที่ 5: (4X, V)*6 = 36 แถวที่ 6: (5X, V)*6 = 42 แถวที่ 7: (6X, V)*6 = 48 วิธีถักก้านดอกไม้ ใช้ไหมพรมดาหลา กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 6/0 ตัดก้านลูกโป่งให้ได้ความยามตามต้องการ ขึ้นต้นงานแบบวงกลม ถัก 6X ให้ได้ความสูงเท่าก้านลูกโป่ง แล้วเย็บติดกับดอกไม้ นำก้านที่ได้จาก 2. สอดเข้าไปในดินที่ถักไว้ ใส่กรวดปลาไว้ที่ฐานกระถาง แล้วยัดใยโพลีเอสเตอร์ ให้เต็ม วิธีถักใบไม้ใหญ่ ใช้ไหมพรมดาหลา กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 6/0 แถวที่ 1: 6X =6 แถวที่ 2: 6V = 12 แถวที่ 3: 12X = 12 แถวที่ 4: (X, V)*6 = 18 แถวที่ 5 - 8: 18X = 18 แถวที่ 9: (X, A)*6 = 12 แถวที่ 10 - 13: 12X = 12 แถวที่ 14: (X, A)*4 = 8 แถวที่ 15 - 16: 8X = 8 วิธีถักใบไม้เล็ก ใช้ไหมพรมดาหลา กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 6/0 แถวที่ 1: 6X = 6 แถวที่ 2: 6V = 12 แถวที่ 3 - 7: 2X = 12 แถวที่ 4: (X, A)*4 = 8 แถวที่ 5: 8X = 8 พบกันใหม่ในบทความต่อไป โครเชต์... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • กล่องใส่ทิชชูขบวนการเคโรโระ

    กล่องใส่ทิชชู่ทรงกลม ตกแต่งหน้าตาให้เป็นตัวละครกบบ๊อง 5 แบบ ที่มีความฝันเดียวกันคือ การครองโลก มาดูวิธีทำกันเลยค่ะ วัสดุอุปกรณ์: 1. ไหมพรมดาหลา และ ไหมพรมอีเกิล 2. เข็มโครเชต์ เบอร์ 1/0 (1.75 mm), 3/0 (2.30 mm), 4/0 (2.50 mm), 5/0 (3.00 mm) 3. เข็มเย็บไหมพรม 4. กรรไกร 5. ซิป ุ6. ผ้าสักหลาด ึ7. กาวอเนกประสงค์ ลายถักโครเชต์ที่ใช้: 1. โซ่ (Chain) 2. ควักธรรมดา หรือ ลาย X (Single Crochet) 3. เลื่อนห่วง หรือ ลาย C (Slip stitich) 4. ลาย F หรือ พ1ค (Double Crochet) แพทเทิร์นกล่องทิชชู สิบโท Keroro แพทเทิร์นตัวกล่องทิชชู่ ใช้ไหมพรมดาหลา 2 เส้นควบ สีเหลืองและเขียว กับ เข็มโครเชต์ 5/0 เริ่มต้นด้วยไหมพรมดาหลาสีเหลือง ถักโซ่ 30 หลัก แล้วถักลาย C ติดกับโซ่แรกเป็นวงกลม ฐานกล่องทิชชู่ ใช้ไหมพรมดาหลาสีเขียว จำนวน 2 เส้นควบ กับเข็มโครเชต์ เบอร์ 5/0 ถักแบบก้นหอย หู ใช้ไหมไหมพรมดาหลา สีเหลือง จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์ 5/0 ขึ้นต้นด้วยโซ่ 11 หลัก ตาดำ ใช้ไหมพรมดาหลา สีดำ จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 4/0 ถักแบบก้นหอย ตาขาว ใช้ไหมพรมดาหลา สีขาว จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 4/0 ถักแบบก้นหอย แพทเทิร์นกล่องทิชชู่พลทหาร Tamama ตัวกล่อง ถักด้วยไหมพรมดาหลา สี เหลืองและกรมท่า ใช้แพทเทิร์นเดียวกับตัวกล่องของ Keroro ฐานกล่อง ถักด้วยไหมพรมดาหลา สี กรมท่า ใช้แพทเทิร์นเดียวกับฐานกล่องของ Keroro หู ถักด้วยไหมพรมดาหลา สีเหลือง ใช้แพทเทิร์นเดียวกับหูของ Keroro หน้า ใช้ไหมพรมดาหลา สีขาว จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 3/0 ขึ้นต้นถักโซ่ จำนวน 4 หลัก แถวที่ 1: ถัก x แรกในโซ่ที่ 2 ถัดจากหัวเข็ม, X, 5X ในโซ่เดียวกัน, V ,โซ่ 1 พลิกกลับ = 9 หลัก แถวที่ 2: 3X , 3V, 3X ,โซ่ 1 กลับชิ้นงาน = 12 หลัก แถวที่ 3: 3X, (XV)*3, 3X ,โซ่ 1 กลับชิ้นงาน = 15 หลัก แถวที่ 4: 3X, (2XV)*3, 3X ,โซ่ 1 กลับชิ้นงาน = 18 หลัก แถวที่ 5: 3X, (3XV)*3, 3X ,โซ่ 1 กลับชิ้นงาน = 21 หลัก แถวที่ 6: 3X, (4XV)*3, 3X ,โซ่ 1 กลับชิ้นงาน = 24 หลัก แถวที่ 7: 3X, (5XV)*3, 3X ,โซ่ 1 กลับชิ้นงาน = 27 หลัก แถวที่ 8: 3X, (6XV)*3, 3X ,โซ่ 1 กลับชิ้นงาน = 30 หลัก แถวที่ 9: 3X, (7XV)*3, 3X ,โซ่ 1 กลับชิ้นงาน = 33 หลัก แถวที่ 10: 3X, (8XV)*3, 3X ,โซ่ 1 กลับชิ้นงาน = 36 หลัก แถวที่ 11: 3X, (9XV)*3, 3X ,โซ่ 1 กลับชิ้นงาน = 39 หลัก แถวที่ 12: 13X, C แถวที่ 13: 12X, C ถักอีกฝั่งเหมือนกับแถวที่ 12 – 13 ตาขาวใหญ่ ใช้ไหมพรมดาหลา สีขาว จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 3/0 ถักแบบก้นหอย ตาขาวเล็ก ใช้ไหมพรมดาหลา สีขาว จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 1/0 ถักแบบก้นหอย แถวที่ 1: 6X ในเมจิคริง ตาดำ ใช้ไหมพรมดาหลา สีดำ จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 1/0 ถักแบบก้นหอย แพทเทิร์นกล่องทิชชู่สิบตรี Giroro ตัวกล่องถักด้วยไหมพรมดาหลา สี แดงเลือดหมูและสีแดง ใช้แพทเทิร์นเดียวกับตัวกล่องของ Keroro ฐานกล่อง ถักด้วยไหมพรมดาหลา สี แดง ใช้แพทเทิร์นเดียวกับฐานกล่องของ Keroro หู ถักด้วยไหมพรมดาหลา สีแดงเลือดหมู ใช้แพทเทิร์นเดียวกับหูของ Keroro ตาขาว ใช้ไหมพรมดาหลา สีขาว จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 4/0 แถวที่ 1: 6x พลิกถักวนกลับ = 6 หลัก แถวที่ 2: 2X, 2V, 2X = 8 หลัก แถวที่ 3: V, 6X, V = 10 หลัก แถวที่ 4: 2X, V, X, 2V, X, V, 2X = 14 หลัก แถวที่ 5: V, X, V, (2X, V)*3, X, V = 17 หลัก ตาดำ ใช้ไหมพรมดาหลา สีดำ จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 4/0 แถวที่ 1: 6x พลิกถักวนกลับ = 6 หลัก แถวที่ 2: 2X, 2V, 2X = 8 หลัก แพทเทิร์นกล่องทิชชู่สิบเอก Kururu ตัวกล่องถักด้วยไหมพรมดาหลา สี เหลือง และ ไหมพรมอีเกิล No.230 ใช้แพทเทิร์นเดียวกับตัวกล่องของ Keroro ฐานกล่อง ถักด้วยไหมพรมดาหลา สี แดง ใช้แพทเทิร์นเดียวกับฐานกล่องของ Keroro ตาขาว ใช้ไหมพรมดาหลา สีขาว จำนวน 2 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 5/0 ถักแบบก้นหอย แถวที่ 1: 6X ในเมจิคริง = 6 หลัก แถวที่ 2: 6V = 12 หลัก แถวที่ 3: (X, V)*6 = 18 หลัก แถวที่ 4: (2X, V)*6 = 24 หลัก สัญลักษณ์บนหัว ใช้ไหมพรมดาหลา สีเหลือง จำนวน 2 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 5/0 ถักแบบก้นหอย แถวที่ 1: 6X ในเมจิคริง = 6 หลัก แถวที่ 2: 6V = 12 หลัก หู ใช้ไหมพรมดาหลา สีขาวและเทา จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 3/0 ถักแบบก้นหอย แพทเทิร์นกล่องทิชชู่สิบจัตวา Dororo ตัวกล่องถักด้วยไหมพรมดาหลา สีเทาและสีฟ้า ใช้แพทเทิร์นเดียวกับตัวกล่องของ Keroro ฐานกล่อง ถักด้วยไหมพรมดาหลา สีฟ้า ใช้แพทเทิร์นเดียวกับฐานกล่องของ Keroro ตาฟ้า ถักด้วยไหมพรมดาหลา สีฟ้า ใช้แพทเทิร์นเดียวกับตาดำ Keroro หมวก ใช้ไหมพรมดาหลา สีขาวและเทา จำนวน 1 เส้น กับ เข็มโครเชต์เบอร์ 3/0 ขึ้นต้นด้วยโซ่ 57 หลัก เริ่มถักหลักแรกในโซ่ที่ 2 จากเข็ม ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการถักโครเชต์ และการทำในสิ่งที่รัก พบกันใหม่ในบทความต่อไป โครเชต์... ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

  • บทที่ 4 ขึ้นต้นงานถักรูปวงรี

    รูปทรงพื้นฐานในการถักตุ๊กตาโครเชต์นอกจากจะเริ่มต้นงานด้วยการถักวงกลมแล้ว เราอาจเริ่มด้วยรูปวงรี โดยอาจถักเป็นหัว ตัว แขน ขา ท้อง หู หรือจมูกก็ได้ วันนี้เราจะมาฝึกการถักชิ้นส่วนตุ๊กตาโครเชต์ด้วยรูปวงรีกันค่ะ แพทเทิร์นทั่วไปที่เราพบตามหนังสือแพทเทิร์นตุ๊กตาโครเชต์ที่ขึ้นต้นด้วยรูปวงรี มักเริ่มถักด้วยการถักลาย X และ V รอบโซ่ฐาน แต่ไม่นานมานี้บีเพิ่งพบว่าเราสามารถเริ่มต้นด้วยวงกลมได้ด้วยค่ะ เรามาเริ่มฝึกจากการถักวงรีรอบโซ่ฐานกันดีกว่าค่ะ ด้วยแพทเทิร์นข้างล่างนี้ WATCH NOW: วิธีถักวงรี เริ่มต้นด้วยโซ่ฐาน ต่อด้วยการถักวงรีต่อจากวงกลมเริ่มต้น ฝึกด้วยแพทเทิร์นนี้ค่ะ WATCH NOW: วิธีถักวงรี เริ่มต้นด้วยวงกลม พบกันใหม่ในบทความต่อไป โครเชต์.....ใคร ๆ ก็ทำได้ สวัสดีค่ะ

bottom of page